หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการจัดการภาคบริการและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(Bachelor of Arts in Sustainable Hospitality and Tourism Management)
หลักสูตรนานาชาติ (International Program)
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 (Revised 2017)
วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน
(International College for Sustainability Studies)
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ภาษาไทย | ชื่อเต็ม: | ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาคบริการและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน |
ชื่อย่อ: | ศศ.บ. (การจัดการภาคบริการและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน) | |
ภาษาอังกฤษ | ชื่อเต็ม: | Bachelor of Arts in Sustainable Hospitality and Tourism Management |
ชื่อย่อ: | B.A. (Sustainable Hospitality and Tourism Management) |
หลักการและเหตุผล/ความสำคัญ
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาคบริการและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จัดการศึกษาให้ผู้เรียนมีจริยธรรม ทัศนคติเชิงบวก และสมรรถนะทางวิชาชีพ ที่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมภาคบริการและการท่องเที่ยว และมีความสามารถทางการแข่งขัน ในตลาดแรงงานสากล อันจะสร้างเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งและสนับสนุนการพัฒนาสู่ประเทศไทย 4.0 ในขณะเดียวกัน มีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองทั้งของประเทศและของโลก มีความเสียสละเพื่อส่วนร่วม คำนึงถึงความเท่าเทียมกันของคนทุกกลุ่มในสังคม มีความเข้าใจถึงความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม และความเชื่อ อันจะช่วยในการสร้างสังคมที่มีสันติภาพ นอกจากนั้นบัณฑิตต้องเข้าใจถึงความขัดแย้งในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนในกลุ่มต่างๆ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งก่อให้เกิดความผันผวนทางสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และตระหนักถึงปัญหาที่ประเทศไทยต้องเผชิญหากไม่ปรับเปลี่ยนสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางในการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนระดับโลก และให้คนรุ่นต่อๆไป มีสิ่งแวดล้อมที่ดี พร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวอย่างต่อเนื่องไปในอนาคต
ปรัชญา
การจัดการภาคบริการและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อความสมดุลระหว่างมนุษย์ ธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ
วัตถุประสงค์
เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะ ดังนี้
- มีความรู้ ความสามารถในการจัดการและพัฒนา การให้บริการภาคบริการและการท่องเที่ยวระดับชาติและนานาชาติที่คำนึงถึงความสมดุล ระหว่างธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ
- สามารถนำความรู้และความสามารถด้านการจัดการภาคบริการและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมภาคบริการและการท่องเที่ยวระดับชาติ และนานาชาติได้อย่างสร้างสรรค์
- มีภาวะผู้นำ คุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึกบริการและการให้บริการอย่างเป็นธรรม มีความรับผิดชอบต่อสังคมตามจรรยาบรรณวิชาชีพในศาสตร์ของการให้บริการและการท่องเที่ยว
- มีความสามารถในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อความเป็นเลิศของการให้บริการในอุตสาหกรรมภาคบริการและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
คุณลักษณะพิเศษของนิสิต
- มีทักษะสื่อสาร
- มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะรับใช้สังคม
- มีทักษะในการจัดการและพัฒนาการให้บริการภาคบริการและการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความสมดุล ระหว่างธรรมชาติ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ
จำนวนหน่วยกิตและโครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชา | จำนวนหน่วยกิต |
---|---|
1 หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | 30 หน่วยกิต |
2 หมวดวิชาเฉพาะ | 93 หน่วยกิต |
2.1 วิชาพื้นฐานวิชาชีพ | 24 หน่วยกิต |
2.2 วิชาเฉพาะ | 69 หน่วยกิต |
2.2.1 วิชาเฉพาะบังคับ | 36 หน่วยกิต |
2.2.2 วิชาเฉพาะเลือก | 33 หน่วยกิต |
2.2.2.1 กลุ่มวิชาความสนใจเฉพาะ | 18 หน่วยกิต |
- วิชาความสนใจเฉพาะหลัก | 15 หน่วยกิต |
- วิชาความสนใจเฉพาะเลือกอื่นๆ | 3 หน่วยกิต |
2.2.2.2 กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศในงานอาชีพ | 15 หน่วยกิต |
3 หมวดวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ | 6 หน่วยกิต |
4 หมวดวิชาเลือกเสรี | 6 หน่วยกิต |
รวมไม่น้อยกว่า | 135 หน่วยกิต |
คุณลักษณะพิเศษของนิสิต
นิสิตที่จบการศึกษาสามารถทำงานในธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจภาคบริการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในระดับประเทศและระดับนานาชาติได้ โดยผู้จบการศึกษาสามารถเลือกทำงานในอาชีพดังต่อไปนี้
- ด้านการท่องเที่ยว ได้แก่ ผู้ประกอบการบริษัทนำเที่ยว เจ้าหน้าที่หรือผู้ประสานงานในบริษัทท่องเที่ยว ในแผนกลูกค้าสัมพันธ์ แผนกพัฒนาธุรกิจ แผนกประชาสัมพันธ์และการตลาด แผนกวางแผนการท่องเที่ยว และมัคคุเทศก์
- ด้านการโรงแรม รีสอร์ทและที่พักต่างๆ ได้แก่ ผู้ประกอบการโรงแรม รีสอร์ทและที่พักแบบต่างๆ เจ้าหน้าที่หรือผู้ประสานงานในแผนกการขาย การตลาดและการประชาสัมพันธ์ แผนกการบริการ ส่วนหน้า แผนกนันทนาการ แผนกอาหารและเครื่องดื่ม แผนกจัดเลี้ยง แผนกการบริการงานแม่บ้าน และแผนกทรัพยากรบุคคลและฝึกอบรม
- ด้านธุรกิจการบิน ได้แก่ เจ้าหน้าที่แผนกต้อนรับบนเครื่องบิน เจ้าหน้าที่หรือผู้ประสานงานในแผนกอื่นๆ เช่น แผนกบริการภาคพื้นดิน แผนกการขาย การตลาด แผนกลูกค้าสัมพันธ์ และแผนกจัดเลี้ยง
- ด้านอื่นๆ ได้แก่ เจ้าหน้าที่หรือผู้ประสานงานในองค์กรระดับชาติ เช่น สถานทูตต่างๆ องค์การสหประชาชาติ สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าแห่งประเทศไทย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และศูนย์ประชุมต่างๆ